หลักปฏิบัติ 6
ดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม
6.1 คณะกรรมการบริษัทกำกับดูแลให้มั่นใจว่า บริษัทมีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิผล และมีการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
แนวปฏิบัติ
6.1.1 มีความเข้าใจความเสี่ยงที่สำคัญของบริษัท
6.1.2 มีการกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงองค์กร
6.1.3 มีคู่มือการบริหารความเสี่ยง ระบุความเสี่ยง การประเมินผลกระทบและโอกาสที่เกิดขึ้น ตลอดจนการจัดลำดับความเสี่ยง และมีวิธีจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม
6.1.4 คณะกรรมการตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยง โดยมอบหมายให้ผู้ตรวจสอบภายในดำเนินการ และรายงานผล
6.1.5 ดูแลให้บริษัทประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามกฎหมาย และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งของในประเทศและในระดับสากล
6.2 คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและอิสระ
แนวปฏิบัติ
6.2.1 จัดทำข้อบังคับคณะกรรมการตรวจสอบ กำหนด
- องค์ประกอบและคุณสมบัติ
- วาระการดำรงตำแหน่ง
- หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
- อำนาจของคณะกรรมการตรวจสอบ
6.2.2 คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจในการตรวจสอบผู้ที่เกี่ยวข้องและเรื่องที่เกี่ยวข้องภายในขอบเขตของอำนาจหน้าที่คณะกรรมการตรวจสอบ และมีอำนาจในการว่าจ้างนำผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาปรึกษาหารือและให้ความเห็นได้ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาว่าเหมาะสม
6.2.3 ให้หลักประกันในความเป็นอิสระของผู้ตรวจสอบภายใน
6.2.4 คณะกรรมการตรวจสอบให้ความเห็นถึงความเพียงพอของระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน และเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปี
6.3 คณะกรรมการบริษัทติดตามดูแลและจัดการความขัดแย้งของผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างบริษัทกับฝ่ายจัดการ คณะกรรมการ หรือผู้ถือหุ้น รวมไปถึงการป้องกันการใช้ประโยชน์อันมิควรในทรัพย์สิน ข้อมูลและโอกาสของบริษัท และการทำธุรกรรมกับผู้ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับบริษัทในลักษณะที่ไม่สมควร
แนวปฏิบัติ
6.3.1 กำหนดนโยบายและแนวทางปฎิบัติในการพิจารณาการทำรายการระหว่างกัน หรือรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งของผลประโยชน์ ต้องมีความสมเหตุสมผล และเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯและผู้ถือหุ้นโดยรวมเป็นสำคัญ พิจารณาโดยถือเสมือนเป็นรายการที่กระทำกับบุคคลภายนอก มีความโปร่งใส โดยผู้มีส่วนได้เสียไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รวมทั้งต้องปฎิบัติตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และมีการเปิดเผยข้อมูลให้นักลงทุนทราบอย่างถูกต้องครบถ้วน
6.3.2 ดูแลให้มีการจัดการและติดตามรายการที่อาจมีความขัดแย้งของผลประโยชน์ รวมทั้งดูแลให้มีแนวทางและวิธีปฏิบัติเพื่อให้การทำรายการดังกล่าวเป็นไปตามขั้นตอนการดำเนินการและการเปิดเผยข้อมูล ตามที่กฎหมายกำหนดและเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวมเป็นสำคัญ โดยที่ผู้มีส่วนได้เสียไม่ควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
6.3.3 กรรมการที่มีส่วนได้เสียงดเว้นจากการมีส่วนร่วมในการประชุมพิจารณาในวาระที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และบันทึกไว้ในรายงานการประชุมคณะกรรมการ
6.4 คณะกรรมการบริษัทจะกำกับดูแลให้มีการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่นที่ชัดเจนและสื่อสารในทุกระดับขององค์กรและต่อคนนอกเพื่อให้เกิดการนำไปปฏิบัติได้จริง
แนวปฏิบัติ
6.4.1 จัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชั่น
6.4.2 สนับสนุนกิจกรรมที่ส่งเสริมและปลูกฝังให้พนักงานทุกคนปฏิบัติตามนโยบาย กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
6.4.3 ให้มีการตรวจ ประเมินในการตรวจสอบภายใน
6.5 คณะกรรมการบริษัทดูแลให้กิจการมีกลไกในการรับเรื่องร้องเรียนและการดำเนินการกรณีมีการชี้เบาะแส
แนวปฏิบัติ
6.5.1 จัดให้มีช่องทางสื่อสารให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย ในการสอบถาม แจ้งข้อมูล ข้อร้องเรียน หรือข้อสงสัยในรายงานการเงิน ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
- เปิดเผยข้อมูลของบริษัทบนเว็บไซท์ของบริษัท http://www.ut.co.th
- ติดต่อสอบถามผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน หรือ กรรมการผู้จัดการทางโทรศัพท์หมายเลข 02-3231085 – 87 เกี่ยวกับรายงานทางการเงิน
- แจ้งข้อร้องเรียนต่อเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบทางโทรศัพท์หมายเลข 02-3231085-87 เพื่อรายงานให้ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ กรรมการผู้จัดการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายดำเนินการสอบสวน / แก้ไขปัญหา
- ทั้งนี้พนักงาน คู่ค้าหรือสาธารณชนทั่วไปสามารถแจ้งเบาะแสการปฏิบัติในทางที่ผิด ตลอดจนการขอคำแนะนำหรือหารือก่อนการร้องเรียนได้โดยใช้สายด่วนหมายเลขโทร. 02-3231085 – 86 ต่อ 1234
6.5.2 ดูแลให้บริษัทฯ มีมาตรการในการเก็บรักษาข้อมูลที่ได้รับเป็นความลับและคุ้มครองผู้ให้ข้อมูล