Gallery
การประกอบธุรกิจ
บริษัทฯเริ่มประกอบธุรกิจตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2520 ในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โดยผ่านกระบวนการผลิตที่ครบวงจรตั้งแต่ปั่นด้าย ทอผ้า ฟอกย้อมและตกแต่งสำเร็จ ต่อมาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2537 ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดยมีบริษัท สหยูเนี่ยน จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2551 บริษัทฯ ได้ปรับลดกระบวนการผลิต โดยหยุดกระบวนการฟอกย้อมและตกแต่งสำเร็จ และนำทรัพย์สินในส่วนของโรงงานฟอกย้อมไปร่วมลงทุนกับ Ten Cate Advanced Textiles BV จัดตั้งบริษัท เทนคาเต้-ยูเนี่ยนโปรเทคทีฟแฟบบริคเอเชีย จำกัด (TCUA) ดำเนินธุรกิจผลิตผ้าป้องกันภัยและอันตรายจากการทำงาน ปัจจุบัน TCUA ได้จดทะเบียนเลิกกิจการกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2556 และอยู่ระหว่างการชำระบัญชี
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 บริษัทฯ ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ทราบถึงมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทยูเนี่ยนอุตสาหกรรมสิ่งทอ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 12/2563 เรื่องการหยุดดำเนินธุรกิจสิ่งทอและสรรหาธุรกิจใหม่
หลังจากนั้นบริษัทฯได้แจ้งแผนการดำเนินการหยุดประกอบธุรกิจสิ่งทอและการสรรหาธุรกิจใหม่ รวมทั้งแจ้งความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นระยะๆ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 บริษัทฯ ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ทราบถึงสถานการณ์ดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ว่า ตามที่บริษัทฯ ได้เคยแจ้งสารสนเทศเกี่ยวกับการหยุดประกอบธุรกิจการผลิตสิ่งทอทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 โดยบริษัทฯ คาดว่าจะขายและส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าเสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายน 2564 หลังจากนั้น บริษัทฯจะไม่มีรายได้จากการประกอบธุรกิจหลัก จะมีเพียงรายได้ค่าเช่าและรายได้เงินปันผลซึ่งไม่ใช่รายได้จากการดำเนินงานของธุรกิจหลัก รวมถึงจะขายทรัพย์สินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสิ่งทอให้เสร็จสิ้นต่อไป
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564 บริษัทฯ ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทฯ จากการเป็น บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยสมัครใจ ทั้งนี้ บริษัท สหยูเนี่ยน จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ดำเนินเรื่องทำคำขอเสนอซื้อหลักทรัพย์ (แบบ 247-4) ประกอบกับความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ และความเห็นของกิจการ (แบบ 250-2) ส่งให้ผู้ถือหุ้นทุกรายแล้ว อนึ่ง ระยะเวลาการแสดงเจตนาขายหลักทรัพย์ของผู้ถือหุ้นอยู่ระหว่างวันที่
28 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 3 มีนาคม 2565 และชำระราคาดังกล่าวในวันที่ 7 มีนาคม 2565
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2565 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สั่งเพิกถอนหุ้นสามัญของบริษัทฯ จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
- คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนประกอบด้วยกรรมการบริษัทจำนวน 3 คน ดังนี้
- นายประมินทร์ พันทวีศักดิ์ ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
- นายพิทยา มหานนท์ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
- นางจันทรตรี ดารกานนท์ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
คณะกรรมการตรวจสอบ
- คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยกรรมการบริษัทจำนวน 3 คน ดังนี้
- นายพลเชษฐ์ ลิขิตธนสมบัติ ประธานกรรมการตรวจสอบ
- นายประมินทร์ พันทวีศักดิ์ กรรมการตรวจสอบ
- นายพิทยา มหานนท์ กรรมการตรวจสอบ
ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสุงสุดในสายงานบัญชีและผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโดยตรงในการควบคุมดูแลการทาบัญชี
ชื่อ-สกุล นางสาวประยูร ศรีพระรามตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายบัญชีการเงินอายุ 58 ปีวันที่ได้รับตำแหน่ง 1 กุมภาพันธ์ 2553
สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท : ไม่มีความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร: ไม่มี
วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจบัณฑิต (การบัญชี) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประวัติการอบรม
1.เทคนิคการวิเคราะห์และบริหารความเสี่ยงโครงการลงทุนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของกิจการอย่างยั่งยืนจัดโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2.Insight Financial Management เสริมศักยภาพให้กิจการ ผ่านการ บริหารการเงินอย่างมืออาชีพ จัดโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
3.งบการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน (19 ส.ค –2 ก.ย 2543) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4.หลักสูตรมาตรฐานการบัญชีอื่นๆอบรมปีละ12ชั่วโมงเพื่อพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางการบัญชี(CPD) ตามหลักเกณฑ์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์และสภาวิชาชีพ
ประสบการณ์และตำแหน่งงานปัจจุบัน
2533-2537 พนักงานบัญชี บมจ.ยูเนี่ยนอุตสาหกรรมสิ่งทอ
2538-2544 หัวหน้าส่วนงานบัญชี บมจ.ยูเนี่ยนอุตสาหกรรมสิ่งทอ
2545-2554 ผู้จัดการส่วนบัญชี บมจ.ยูเนี่ยนอุตสาหกรรมสิ่งทอ
2555 - ปัจจุบัน ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน บมจ.ยูเนี่ยนอุตสาหกรรมสิ่งทอ
หัวหน้างานตรวจสอบภายใน และหัวหน้างานกำกับดูแลการปฏิบัติงานของบริษัท (compliance)
ชื่อ-สกุล นางสาววนิดา โชคเหมาะ
ตำแหน่ง หัวหน้าแผนกตรวจสอบภายใน
อายุ 44 ปี
สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท: ไม่มี
ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร: ไม่มี
วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี การบริหารการจัดการ สถาบันราชภัฎสวนดุสิตการอบรม
1.ISO 9001:2015 เทคนิคการเตรียมเอกสารสำหรับการจัดทำระบบมาตรฐาน
2.ISO 9001:2015 การตีความข้อก าหนด
3.ISO 9001:2008 Advance Audit Techniques Training Course
4.ISO 9001:2008 Internal Auditor Training Course
5.การป้องกันการทุจริตในองค์กร
6.การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในและเทคนิคการเขียนรายงาน
7.การประเมินความเสี่ยง
8.เทคนิคการเขียนรายงานการตรวจสอบภายใน
9.การปฎิบัติงานตรวจสอบภายในระบบสารสนเทศ
10.วิธีการประเมินความเสี่ยงเพื่อการวางแผนการตรวจสอบภายใน
ประสบการณ์และตำแหน่งงานปัจจุบัน-
2543 - 2551 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในบมจ.ยูเนี่ยนอุตสาหกรรมสิ่งทอ
2552 - 2553 เจ้าหน้าที่การตลาดบจ.เอ ซี ที ประเทศไทย
2553 - พ.ค. 2560 พนักงานตรวจสอบภายในบมจ.ยูเนี่ยนอุตสาหกรรมสิ่งทอ
มิ.ย. 2560 – ปัจจุบันหัวหน้าแผนกตรวจสอบภายในบมจ.ยูเนี่ยนอุตสาหกรรมสิ่งทอ
นิยามกรรมการอิสระของบริษัท ตามเกณฑ์ขั้นต่ำของ ก.ล.ต. มีดังนี้
****************************************************************************************
(ก) ถือหุ้นไม่เกินร้อยละหนึ่งของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ขออนุญาต บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ขออนุญาต ทั้งนี้ให้นับรวมการถือหุ้นของ ผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้นๆ ด้วย
(ข) ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจำ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ขออนุญาต บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือของผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ขออนุญาต เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน ทั้งนี้ลักษณะต้องห้ามดังกล่าวไม่รวมถึงกรณีที่กรรมการอิสระเคยเป็นข้าราชการ หรือที่ปรึกษา ของส่วนราชการซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ขออนุญาต
(ค) ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ในลักษณะที่เป็นบิดามารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร ของผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจ-ควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อย
(ง) ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับผู้ขออนุญาต บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ขออนุญาต ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย หรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับผู้ขออนุญาต บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ขออนุญาต เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน
ความสัมพันธ์ทางธุรกิจตามวรรคหนึ่ง รวมถึงการทำรายการทางการค้าที่กระทำเป็นปกติเพื่อประกอบ-กิจการ การเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือบริการ หรือการให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงิน ด้วยการรับหรือให้กู้ยืม ค้ำประกัน การให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันหนี้สิน รวมถึงพฤติการณ์อื่นทำนองเดียวกัน ซึ่งเป็นผลให้ผู้ขออนุญาตหรือคู่สัญญามีภาระหนี้ที่ต้องชำระต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ตั้งแต่ร้อยละสามของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของผู้ขออนุญาตหรือตั้งแต่ยี่สิบล้านบาทขึ้นไป แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ การคำนวณภาระหนี้ดังกล่าวให้เป็นไปตามวิธีการคำนวณมูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน โดยอนุโลม แต่ในการพิจารณาภาระหนี้ดังกล่าว ให้นับรวมภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างหนึ่งปีก่อนวันที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบุคคลเดียวกัน
(จ) ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของผู้ขออนุญาต บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้น- รายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ขออนุญาต และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของสำนักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของผู้ขออนุญาต บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ขออนุญาตสังกัดอยู่ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน
(ฉ) ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่าสองล้านบาทต่อปีจากผู้ขออนุญาต บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ขออนุญาต และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจ-ควบคุม หรือหุ้นส่วนของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน
(ช) ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของผู้ขออนุญาต ผู้ถือหุ้น- รายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่
(ซ) ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อย หรือไม่เป็นหุ้นส่วนที่มีนัยในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่รับเงินเดือนประจำ หรือถือหุ้นเกินร้อยละหนึ่งของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทอื่น ซึ่งประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อย
(ฌ) ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของผู้ขออนุญาต
ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระที่มีลักษณะเป็นไปตามวรรคหนึ่ง (ก) ถึง (ฌ) แล้ว กรรมการอิสระอาจได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ให้ตัดสินใจในการดำเนินกิจการของผู้ขออนุญาต บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ขออนุญาต โดยมีการตัดสินใจในรูปแบบขององค์คณะ (collective decision) ได้
1 ผู้ที่เกี่ยวข้อง : บุคคลตามมาตรา 258 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2 กรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน : กรรมการที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหาร กรรมการที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการใดๆ เยี่ยงผู้บริหาร และให้หมายความรวมถึงกรรมการที่มีอำนาจลงนามผูกพัน เว้นแต่จะแสดงได้ว่าเป็นการลงนามผูกพันตามรายการที่คณะกรรมการมีมติอนุมัติไว้แล้ว และเป็นการลงนามร่วมกับกรรมการรายอื่น
3 บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน : บริษัทย่อยในลำดับเดียวกัน ตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป ที่มีบริษัทใหญ่เป็นบริษัทเดียวกัน
หมวดหมู่รอง
คณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการบริษัท
การประกอบธุรกิจ
ลักษณะการประกอบธุรกิจ
บริษัทฯ ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผ้าทอตามคำสั่งซื้อของลูกค้า โดยผ่านกระบวนการปั่นด้าย และกระบวนการทอผ้า บริษัทฯ อาจมีรายได้จากการให้บริการปั่นด้าย และ/หรือทอผ้า โดยใช้วัตถุดิบจากผู้ว่าจ้าง
ลักษณะของผลิตภัณฑ์หรือบริการ
ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทฯ คือ ผ้าทอ โดยมีทั้งผ้าฝ้าย 100% ผ้าฝ้ายผสมโพลีเอสเตอร์ หรือใยสังเคราะห์อื่นๆ ที่มีคุณลักษณะเฉพาะสำหรับนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผ้า Workwear และผ้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น บริษัทฯ มีบริการรับผลิตเส้นด้าย และ/หรือทอผ้า โดยใช้วัตถุดิบของผู้จ้าง
การตลาดและการแข่งขัน
การทำการตลาดของผลิตภัณฑ์และบริการที่สำคัญ
• บริษัทฯ มีนโยบายการตลาดโดยมุ่งเน้นลูกค้าทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่สินค้ามี เครื่องหมายการค้าเป็นที่รู้จักในระดับนานาประเทศ
• ในปี 2563 บริษัทจำหน่ายสินค้าโดยตรงให้กับลูกค้าทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มีสัดส่วนมูลค่าการขายในประเทศ และต่างประเทศคิดเป็นร้อยละ 15 และ 85
• บริษัทฯ มีลูกค้าหลักทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวม 10 ราย โดยลูกค้าต่างประเทศได้แก่ญี่ปุ่น อังกฤษ และอิตาลี
• ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯมีรายได้จากลูกค้า 2 รายที่เกิน 30% ของยอดซื้อรวม แต่บริษัทฯไม่ได้พึ่งพิงลูกค้ารายใดรายหนึ่งที่จะมีผลต่อความอยู่รอดของบริษัทฯ
สภาพการแข่งขัน
• ปี 2563 ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอกลุ่มเส้นใยสิ่งทอผ้าผืนยังคงหดตัวที่เป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการเงินโลก การเจรจาข้อตกลงทางการค้าระหว่างอังกฤษกับ EU รวมถึงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคม 2562
• แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอคาดว่ายังคงชะลอตัว เนื่องจากยังคงประสบในปัญหาหลายด้าน อาทิเช่น มาตราการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ สถานการณ์เศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและของประเทศคู่ค้า ตลอดจนสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต ทำให้ความต้องการหรือพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ถึงแม้ว่าจะมีการผ่อนคลายการ lockdown และเริ่มมีการใช้วัคซีนป้องกัน โควิด-19 แต่ยังคงมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น
• บริษัทฯมีคู่แข่ง 12 ราย แบ่งเป็นในประเทศ 6 ราย และต่างประเทศ 6 ราย
• บริษัทปรับลดกำลังการผลิตผ้าทออยู่ที่ประมาณ 1 ล้านเมตรต่อเดือน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า การขาดแคลนแรงงาน และลดค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่เหลือจากการผลิตให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
• สภาพการแข่งขันในอนาคต ยังคงให้ความสำคัญด้านราคา และรวมถึงการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าให้มากขึ้น
หน้าที่ 1 จาก 3