Gallery
การนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี CG Code
ตามที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ออกหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 (CG Code) เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณานำหลักปฏิบัติไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทธุรกิจขององค์กร
คณะกรรมการได้พิจารณานำหลักปฏิบัติทั้ง 8 ข้อไปปรับใช้ในการกำกับดูแลกิจการ กล่าวคือ
- ช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหลักอันมุ่งหวังให้เกิดการเสริมสร้างคุณค่าของกิจการอย่างยั่งยืน
- เป็นแนวทางสนับสนุนให้การดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนด และ
- เป็นแนวทางในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของฝ่ายจัดการ และเปิดเผยผลการดำเนินงานให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบ
ทั้งนี้ คณะกรรมการได้พิจารณา ทบทวนการนําาหลักเกณฑ์การปฏิบัติตาม CG Code ไปปรับใช้ตามบริบททางธุรกิจของบริษัท ซึ่งมีแนวปฏิบัติที่ยังไม่สามารถนําามาปฏิบัติ ได้แก่
ข้อที่บริษัทยังไม่ได้ปฏิบัติ
คณะกรรมการไม่ได้กำหนดนโยบายจำกัดจำนวนปีในการดำรงตำแหน่งของกรรมการอิสระไว้ไม่เกิน 9 ปี
- คณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน จะพิจารณาความเหมาะสม ดังนี้
- เป็นกรรมการซึ่งมีคุณสมบัติเป็นกรรมการอิสระครบถ้วนตามนิยามกรรมการอิสระของบริษัทฯ และตามหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. และ ต.ล.ท.
- เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการอิสระร่วมกับคณะกรรมการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถให้ความเห็นทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับการทำงานของฝ่ายบริหารได้อย่างเป็นอิสระ ตรงไปตรงมา เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ
- คณะกรรมการบริษัทไม่มีการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งต่อเนื่องของกรรมการอิสระ
- ในประเด็นการคงความเป็นอิสระอย่างแท้จริง ที่มีความเห็นว่าไม่ควรดำรงตำแหน่งต่อเนื่องเกิน 9 ปีนั้น คณะกรรมการเห็นว่าความเป็นอิสระไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนปีที่ดำรงตำแหน่ง แต่อยู่ที่ความรู้ความสามารถและการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระแท้จริง อีกทั้งประสบการณ์จากการดำรงตำแหน่งจะทำให้เข้าใจการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯได้ดียิ่งขึ้น
ประธานกรรมการบริษัทไม่เป็นกรรมการอิสระ
- คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารเข้าดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท เนื่องจากเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในธุรกิจของบริษัทฯ และได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นอิสระ ตรงไปตรงมาเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท
บริษัทไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการดำรงตำแหน่งในบริษัทอื่นของกรรมการ
- บริษัทมีข้อจำกัดเรื่องความรู้ ความชำนาญในลักษณะและประเภทของธุรกิจเช่นสิ่งทอ และคณะกรรมการได้แสดงให้เห็นว่าสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และจัดสรรเวลาอย่างเพียงพอ
การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในเรื่องอื่นๆ
- บริษัทฯ เข้าร่วมโครงการประเมินคุณภาพการจัดการประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ครั้งที่ 27 ซึ่งผลการประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญ ประจำปี 2563 (AGM Checklist) บริษัทฯ ได้คะแนนร้อยละ 98
- บริษัทฯ เข้าร่วมโครงการการประเมินการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนไทย ประจำปี 2563 โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ซึ่งผลการประเมินบริษัทฯได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 82 อยู่ในระดับดีมาก (ช่วงคะแนนร้อยละ 80-89)
ประธานกรรมการบริษัท
นายปรีชา ชุณหวาณิชย์
ประธานกรรมการบริษัท
ตามข้อบังคับของบริษัท ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธาน ทั้งนี้คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งกรรมการที่ไม่เป็นกรรมการผู้บริหารและไม่ได้เป็นบุคคลคนเดียวกับกรรมการผู้จัดการ เป็นประธานกรรมการมีบทบาทเป็น ผู้นำของคณะกรรมการ โดยมีหน้าที่อย่างน้อยครอบคลุมในเรื่องดังนี้
- เป็นผู้นำของคณะกรรมการบริษัท กำกับดูแลให้คณะกรรมการบริษัทปฎิบัติหน้าที่ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทตามกฎหมาย ข้อบังคับบริษัท และนโยบายของ บริษัทฯ อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของบริษัทฯ
- ดูแลให้กรรมการทุกคนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่มีจริยธรรม และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- ประธานกรรมการหรือผู้ที่ประธานกรรมการมอบหมาย มีหน้าที่เรียกประชุมคณะกรรมการบริษัท โดยส่งหนังสือนัดประชุมและเอกสารประกอบการประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม
- ประธานกรรมการและกรรมการผู้อำนวยการร่วมกันพิจารณาเลือกเรื่องเข้าเป็นวาระการประชุมคณะกรรมการ โดยดูแลให้เรื่องสำคัญได้ถูกบรรจุเป็นวาระการประชุม ทั้งนี้ กรรมการ/กรรมการอิสระ มีความเป็นอิสระที่จะเสนอเรื่องเข้าเป็นวาระการประชุมได้
- เป็นประธานที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ดูแลการประชุมให้เป็นไปตามข้อบังคับบริษัทและกฎหมาย ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ โดยจัดสรรเวลาอย่างเพียงพอที่ฝ่ายจัดการจะนำเสนอข้อมูล และเพียงพอที่กรรมการทุกคนจะแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ เป็นอิสระ และใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ ตลอดจนควบคุมประเด็นในการอภิปราย และสรุปมติที่ประชุม
- เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกรรมการที่เป็นผู้บริหารและกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร และระหว่างคณะกรรมการและฝ่ายจัดการ ตลอดจนสนับสนุนการปฎิบัติหน้าที่ของฝ่ายจัดการตามนโยบายของบริษัทฯ
- เป็นประธานในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ดูแลการประชุมให้เป็นไปตามข้อบังคับบริษัท กฎหมาย และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการประชุมตามลำดับระเบียบวาระการประชุมที่กำหนดไว้ในหนังสือเชิญประชุม โดยจัดสรรเวลาอย่างเหมาะสม เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน และดูแลให้มีการตอบข้อซักถามของผู้ถือหุ้นอย่างเหมาะสมและโปร่งใส
กรรมการผู้จัดการ
นางศรีนวล สมบัติไพรวัน
กรรมการผู้จัดการ
อำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบ
- รับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ปฏิบัติหน้าที่และดำเนินการตามมติคณะกรรมการบริษัท และตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย
- มีอำนาจอนุมัติและลงนามเอกสารการใช้จ่ายเงินและวงเงิน ตามหลักเกณฑ์การลงนามเอกสารการอนุมัติการใช้จ่ายเงินและวงเงินตามที่กำหนด
- รับผิดชอบให้บริษัทมีบัญชีที่ถูกต้องและมีรายงานทางการเงินที่เปิดเผยโดยถูกต้องครบถ้วน
- รับผิดชอบให้มีการตรวจนับจริงของสินค้าคงคลังและควบคุมสินค้าคงคลังให้เหมาะสม
- รับผิดชอบติดตามการชำระหนี้ของลูกหนี้ และควบคุมลูกหนี้คงค้างให้เหมาะสมตามกำหนดเวลาชำระหนี้
- จัดทำแผนงาน งบประมาณประจำปี พร้อมด้วยเป้าหมายผลตอบแทน
- สรุปรายงานผลการดำเนินงาน รวมทั้งงบการเงินประจำเดือน งบไตรมาส (ถ้ามี) ของบริษัทฯ เสนอคณะกรรมการบริษัทฯ
- ดำเนินการในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้ หลังจากได้รับการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทแล้ว
- การเปิดบัญชี การขอวงเงินประเภทต่างๆ จากธนาคารและสถาบันการเงิน
- การให้เงินกู้ยืม จดจำนอง จำนำ และค้ำประกันแก่นิติบุคคลหรือบุคคล
- การให้นิติบุคคล และ/หรือ บุคคลภายนอก เช่าและ/หรือใช้ทรัพย์สินของบริษัทฯ
- การทำธุรกรรมซึ่งมิใช่เป็นการประกอบธุรกิจตามปกติของบริษัทฯ กับนิติบุคคลหรือบุคคล
ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
รายชื่อกรรมกาาร |
คณะกรรมการ บริษัท |
คณะกรรมการ ตรวจสอบ |
คณะกรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทน |
ประชุมสามัญ ผู้ถือหุ้นปี 2563 |
การเป็นกรรมการ บริษัทระหว่างปี |
(9 คน) | (3 คน) | (3 คน) | (9 คน) | ||
นายปรีชา ชุณหวาณิชย์ | 7/7 | แต่งตั้งมีผล 20 พ.ค. 63 | |||
นางสาวดาลัดย์ ทรัพย์ทวีชัยกุล | 5/5 | 1/1 | ลาออกมีผล 20 พ.ค.63 | ||
นางอรนุช สูงสว่าง | 12/12 | 4/4 | 1/1 | ||
นายพิลาศพงษ์ ทรัพย์เสริมศรี | 11/12 | 4/4 | 3/3 | 0/1 | |
นายปรีชา วัฒนศรานนท์ | 12/12 | 4/4 | 3/3 | 1/1 | |
นางพิมพ์พร โชติรัตนกุล | 12/12 | 1/1 | |||
นายชุตินธร ดารกานนท์ | 11/12 | 1/1 | |||
นางจันทรตรี ดารกานนท์ | 11/12 | 3/3 | 1/1 | ||
นางสรัญญา ดารกานนท์ | 12/12 | 1/1 | |||
นายพีรวุฒิ เลาหะพันธุ์ | 10/10 | 1/1 | ลาออกมีผล 16 พ.ย. 63 | ||
จำนวนครั้งของการประชุมทั้งหมด | 12 | 4 | 3 | 1 | |
ร้อยละของการเข้าประชุม | 97 | 100 | 100 | 89 |
การจัดประชุมคณะกรรมการ
ประธานกรรมการบริษัทมอบหมายให้ เลขานุการบริษัท จัดทำตารางกำหนดวันประชุมคณะกรรมการบริษัทประจำปีเป็นการล่วงหน้า และแจ้งให้กรรมการแต่ละคนทราบถึงกำหนดการดังกล่าวเพื่อให้กรรมการสามารถจัดสรรเวลา เข้าร่วมประชุมได้
การประชุมแต่ละครั้งในปี 2563
(1)ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการจะร่วมกันพิจารณาการเลือกเรื่องเข้าวาระการประชุมคณะกรรมการ และกรรมการแต่ละคนมีความเป็นอิสระที่จะเสนอเรื่องการประชุมซึ่งจะบรรจุไว้ในวาระอื่นๆ
(2)เลขานุการบริษัทจะส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบให้กรรมการเป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วันทำการก่อนวันประชุม
(3)ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง ซึ่งเพียงพอที่ฝ่ายจัดการจะเสนอเรื่องและกรรมการจะอภิปรายปัญหาสำคัญกันอย่างรอบคอบโดยทั่วกัน ประธานกรรมการได้ส่งเสริมให้มีการใช้ดุลยพินิจที่รอบคอบ และกรรมการทุกคนให้ความสนใจกับประเด็นทุกเรื่องที่นำสู่ที่ประชุม รวมทั้งประเด็นการกำกับดูแลกิจการ
(4)มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาโดยตรง เช่นสถานการณ์ด้านการตลาด การจัดหาวัตถุดิบ และการผลิต เป็นต้น และเพื่อมีโอกาสรู้จักผู้บริหารสำหรับใช้ประกอบการพิจารณาแผนการสืบทอดงาน
(5)คณะกรรมการสามารถขอข้อมูลที่จำเป็นเพิ่มเติมได้จากกรรมการผู้จัดการหรือเลขานุการบริษัท หรือผู้บริหารอื่นที่ได้รับมอบหมาย ภายในขอบเขตนโยบายที่กำหนดไว้
(6)กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารมีการประชุมร่วมกันเพื่ออภิปรายปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการจัดการที่อยู่ในความสนใจ โดยไม่มีฝ่ายจัดการร่วมด้วย และจะแจ้งให้กรรมการผู้จัดการทราบถึงผลการประชุมด้วย
(7)การเข้าร่วมประชุมของกรรมการบริษัท ปี 2563