Gallery

  • ut01.jpg
  • ut02.jpg
  • ut03.jpg
  • ut04.jpg
  • ut05.jpg

โครงสร้างบริษัท

 

table19052021003

การประกอบธุรกิจ

 

บริษัทฯเริ่มประกอบธุรกิจตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2520 ในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โดยผ่านกระบวนการผลิตที่ครบวงจรตั้งแต่ปั่นด้าย ทอผ้า ฟอกย้อมและตกแต่งสำเร็จ ต่อมาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2537 ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดยมีบริษัท สหยูเนี่ยน จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2551 บริษัทฯ ได้ปรับลดกระบวนการผลิต โดยหยุดกระบวนการฟอกย้อมและตกแต่งสำเร็จ และนำทรัพย์สินในส่วนของโรงงานฟอกย้อมไปร่วมลงทุนกับ Ten Cate Advanced Textiles BV จัดตั้งบริษัท เทนคาเต้-ยูเนี่ยนโปรเทคทีฟแฟบบริคเอเชีย จำกัด (TCUA) ดำเนินธุรกิจผลิตผ้าป้องกันภัยและอันตรายจากการทำงาน ปัจจุบัน TCUA ได้จดทะเบียนเลิกกิจการกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2556 และอยู่ระหว่างการชำระบัญชี

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 บริษัทฯ ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ทราบถึงมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทยูเนี่ยนอุตสาหกรรมสิ่งทอ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 12/2563 เรื่องการหยุดดำเนินธุรกิจสิ่งทอและสรรหาธุรกิจใหม่

หลังจากนั้นบริษัทฯได้แจ้งแผนการดำเนินการหยุดประกอบธุรกิจสิ่งทอและการสรรหาธุรกิจใหม่ รวมทั้งแจ้งความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นระยะๆ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 บริษัทฯ ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ทราบถึงสถานการณ์ดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ว่า ตามที่บริษัทฯ ได้เคยแจ้งสารสนเทศเกี่ยวกับการหยุดประกอบธุรกิจการผลิตสิ่งทอทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 โดยบริษัทฯ คาดว่าจะขายและส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าเสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายน 2564 หลังจากนั้น บริษัทฯจะไม่มีรายได้จากการประกอบธุรกิจหลัก จะมีเพียงรายได้ค่าเช่าและรายได้เงินปันผลซึ่งไม่ใช่รายได้จากการดำเนินงานของธุรกิจหลัก รวมถึงจะขายทรัพย์สินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสิ่งทอให้เสร็จสิ้นต่อไป

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564 บริษัทฯ ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทฯ จากการเป็น บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยสมัครใจ ทั้งนี้ บริษัท สหยูเนี่ยน จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ดำเนินเรื่องทำคำขอเสนอซื้อหลักทรัพย์ (แบบ 247-4) ประกอบกับความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ และความเห็นของกิจการ (แบบ 250-2) ส่งให้ผู้ถือหุ้นทุกรายแล้ว อนึ่ง ระยะเวลาการแสดงเจตนาขายหลักทรัพย์ของผู้ถือหุ้นอยู่ระหว่างวันที่
28 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 3 มีนาคม 2565 และชำระราคาดังกล่าวในวันที่ 7 มีนาคม 2565

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2565 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สั่งเพิกถอนหุ้นสามัญของบริษัทฯ จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน

 

 2     

 

 

    นาง

ชฎาพร  เจียมสกุลทิพย์  

      เลขานุการบริษัท

     

 

 

 

 

 

 

หลักทรัพย์บริษัท

บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน 600 ล้านบาท เรียกชำระแล้ว 600 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 45 ล้านหุ้น หุ้นบุริมสิทธิ 15 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นๆละ 10 บาท
สภาพและบุริมสิทธิแห่งหุ้นบุริมสิทธิ มีดังนี้

  • ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิได้รับเงินปันผลก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
  • ให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิมีสิทธิได้รับเงินปันผล ในอัตราร้อยละ 14 ต่อปี โดยให้ได้รับสิทธิตั้งแต่รอบปีบัญชี 2529 เป็นต้นไป
  • ปีใดที่บริษัทฯ ไม่สามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิได้หรือจ่ายได้ไม่เต็มตามสิทธิ ให้สะสมเงินปันผลที่พึงจะได้รับหรือในส่วนที่ได้รับไม่เต็มตามสิทธิในแต่ละปีได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 7 ปี
  • ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นสามัญได้รับอัตราเงินปันผลเกินกว่าร้อยละ 14 ต่อปี ให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิมีสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลในส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 14 ต่อปี ด้วย โดยให้ได้รับเท่ากับผู้ถือหุ้นสามัญ
  • ในกรณีที่บริษัทฯ เลิกกิจการให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิมีสิทธิได้รับเงินค่าหุ้นคืนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
  • นอกเหนือจากสิทธิที่ได้ระบุไว้ข้างต้นแล้ว ผู้ถือหุ้นสามัญและผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิมีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกันทุกประการ

รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายแรก ณ วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นครั้งล่าสุด วันที่ 28 มีนาคม 2566

table11042024001

 

หมายเหตุ กลุ่มดารกานนท์ ซึ่งประกอบธุรกิจหลักคือการลงทุนเป็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริงของผู้ถือหุ้นลำดับ 1.2 และ 1.3
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่มีข้อตกลงระหว่างกันในเรื่องที่มีผลกระทบต่อการออกและเสนอขายหลักทรัพย์หรือการบริหารงานของบริษัทฯ

พันธกิจ

  • ดำเนินธุรกิจด้านสิ่งทอให้ได้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ และเพิ่มรายได้ให้ธุรกิจ จากทรัพยากรที่มีอยู่

  • สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน

  • เอาใจใส่ จริงใจรับผิดชอบ และตอบสนองความต้องการต่อลูกค้าให้ดีที่สุด ช่วยรักษาความลับทางธุรกิจ

  • สร้างความสัมพันธ์อันดีและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า

  • ปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน เป็นธรรมและให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม รวมทั้งสนับสนุนการฝึกอบรมและพัฒนาขีดความสามารถการทำงานให้พนักงานอย่างต่อเนื่อง

  • มีปณิธานอย่างแน่วแน่ในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม โดยจะไม่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน และปกป้องสิ่งแวดล้อมอันอาจเกิดจากการดำเนินธุรกิจ ภายใต้มาตรฐานสากล ระเบียบข้อบังคับของทางราชการ และเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนและสังคม

หมวดหมู่รอง

คณะกรรมการบริษัท

 

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

บริษัทฯ ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผ้าทอตามคำสั่งซื้อของลูกค้า โดยผ่านกระบวนการปั่นด้าย และกระบวนการทอผ้า บริษัทฯ อาจมีรายได้จากการให้บริการปั่นด้าย และ/หรือทอผ้า โดยใช้วัตถุดิบจากผู้ว่าจ้าง


ลักษณะของผลิตภัณฑ์หรือบริการ
ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทฯ คือ ผ้าทอ โดยมีทั้งผ้าฝ้าย 100% ผ้าฝ้ายผสมโพลีเอสเตอร์ หรือใยสังเคราะห์อื่นๆ ที่มีคุณลักษณะเฉพาะสำหรับนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผ้า Workwear และผ้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น บริษัทฯ มีบริการรับผลิตเส้นด้าย และ/หรือทอผ้า โดยใช้วัตถุดิบของผู้จ้าง

การตลาดและการแข่งขัน
การทำการตลาดของผลิตภัณฑ์และบริการที่สำคัญ
• บริษัทฯ มีนโยบายการตลาดโดยมุ่งเน้นลูกค้าทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่สินค้ามี เครื่องหมายการค้าเป็นที่รู้จักในระดับนานาประเทศ
• ในปี 2563 บริษัทจำหน่ายสินค้าโดยตรงให้กับลูกค้าทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มีสัดส่วนมูลค่าการขายในประเทศ และต่างประเทศคิดเป็นร้อยละ 15 และ 85
• บริษัทฯ มีลูกค้าหลักทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวม 10 ราย โดยลูกค้าต่างประเทศได้แก่ญี่ปุ่น อังกฤษ และอิตาลี
• ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯมีรายได้จากลูกค้า 2 รายที่เกิน 30% ของยอดซื้อรวม แต่บริษัทฯไม่ได้พึ่งพิงลูกค้ารายใดรายหนึ่งที่จะมีผลต่อความอยู่รอดของบริษัทฯ

สภาพการแข่งขัน
• ปี 2563 ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอกลุ่มเส้นใยสิ่งทอผ้าผืนยังคงหดตัวที่เป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการเงินโลก การเจรจาข้อตกลงทางการค้าระหว่างอังกฤษกับ EU รวมถึงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคม 2562
• แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอคาดว่ายังคงชะลอตัว เนื่องจากยังคงประสบในปัญหาหลายด้าน อาทิเช่น มาตราการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ สถานการณ์เศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและของประเทศคู่ค้า ตลอดจนสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต ทำให้ความต้องการหรือพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ถึงแม้ว่าจะมีการผ่อนคลายการ lockdown และเริ่มมีการใช้วัคซีนป้องกัน โควิด-19 แต่ยังคงมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น
• บริษัทฯมีคู่แข่ง 12 ราย แบ่งเป็นในประเทศ 6 ราย และต่างประเทศ 6 ราย
• บริษัทปรับลดกำลังการผลิตผ้าทออยู่ที่ประมาณ 1 ล้านเมตรต่อเดือน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า การขาดแคลนแรงงาน และลดค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่เหลือจากการผลิตให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
• สภาพการแข่งขันในอนาคต ยังคงให้ความสำคัญด้านราคา และรวมถึงการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าให้มากขึ้น